RULES & REGULATIONS
It is a long established fact that a reader will be distracted by the readable content of a page when looking at its layout. The point of using Lorem Ipsum is that it has a more-or-less normal distribution of letters, as opposed to using 'Content here, content here', making it look like readable English. Many desktop publishing packages and web page editors now use Lorem Ipsum as their default model text, and a search for 'lorem ipsum' will uncover many web sites still in their infancy. Various versions have evolved over the yearsIt is a long established fact that a reader will be distracted by the readable content of a page when looking at its layout. The point of using Lorem Ipsum is that it has a more-or-less normal distribution of letters, as opposed
บทความทั่วไป
ข้อ 1 ชื่อของสมาคมการค้า สมาคมการค้านี้มีชื่อว่า
“สมาคมการค้าธุรกิจการบินขนส่งสินค้า” เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “”AIRLINE CARGO BUSINESS ASSOCIATION ชื่อย่อภาษาอังกฤษ ACBA คำว่า “สมาคม” ต่อไปในข้อบังคับนี้ ให้หมายความถึง “สมาคมการค้าธุรกิจการบินขนส่งสินค้า
ข้อ 2 สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่เลขที่ 628 อาคารทริพเพิลไอ ชั้นแอล ซอยกลับชม ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
ข้อ 3 เครื่องหมายของสมาคม มีลักษณะดังนี้คือ เป็นรูปตู้คอนเทนเนอร์ บนตู้คอนเทนเนอร์มีอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัวคือ ACBA ด้านล่างของตู้คอนเทนเนอร์มีภาษาไทยคำว่า “สมาคมการค้าธุรกิจการบินขนส่งสินค้า” อยู่ที่ฐาน ดังรูปเครื่องหมายสมาคมข้างล่างนี้
วัตถุที่ประสงค์
ข้อ 4 สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจที่เกี่ยวกับธุรกิจการบินขนส่งสินค้าทางอากาศ
(2) ส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางอากาศให้ได้ระดับและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล
(3) ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี
(4) ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิกได้ดำเนินด้วยความเรียบร้อย
(5) สมาคมไม่มีวัตถุประสงค์ในการตกลงเจราจาเกี่ยวกับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดๆที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า แผนการตลาด และ/หรือไม่กระทำการใดๆ ให้กับสมาชิกซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์อันดีร ะหว่างสายการบินและตัวแทนสายการบิน
(6) ให้สมาคมเป็นตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมประชุมกับองค์กรอื่น ที่จัดโดยเอกชนหรือองค์กรของรัฐอันเป็นการพัฒนาองค์กร โดยหัวข้อที่เข้าร่วมประชุมจะต้องไม่เกี่ยวกับการแข่งขันหรือการกำห นดราคาค่าบริการ
(7) ให้สมาคมเป็นตัวแทนสมาชิกในการเรียกร้องค่าเสียหาย กรณีกระทำผิดสัญญาการชำระค่าระวางสินค้า จากตัวแทนสายการบิน (Forwarding Agents)
(8) ให้สมาคมมีหน้าที่ในการจัดอบรมตามวัตถุประสงค์ของข้อบังคับเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกของสมาคม
(9) ไม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโต๊ะบิลเลียดหรือโต๊ะสนุกเกอร์
สมาชิกและสมาชิกภาพ
ข้อ 5 ประเภทสมาชิก
สมาชิกของสมาคมการค้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท และมีคุณสมบัติดังนี้
(1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลซึ่งประกอบวิสาหกิจเป็นสายการบินรับขนส่งสินค้าท างอากาศหรือตัวแทนประจำประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้ง ของสายการบินนั้นๆ เป็นสายการบินที่มีกำหนดตารางเวลาที่แน่นอน มีสำนักงานขายตั้งอยู่ในประเทศไทยและดำเนินกิจการในประเทศไม่น้ อยกว่า 1 ปี
(2) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ประกอบวิสากิจในทางการค้า หรือมีส่วนสนับสนุนเกี่ยวกับธุรกิจขนส่งสินค้าของสายการ บิน หรือสายการบินที่ให้บริการแบบเช่าเหมาลำ
(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเป็นผู้มีอุปการะคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้เข้ามาเป็นสมาชิกและผู้นั้นตอบรับ คำเชิญ
ข้อ6 ผู้แทนของสมาชิกสามัญ สมาชิกสามัญจะต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอำนา จกระทำการแทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกสามัญนั้นได้ไม่เกิน สองคน เพื่อปฏิบัติการในหน้าที่และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้น ในการนี้ ผู้แทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนหรือแต่งตั้ง ตัวแทนช่วงมิได้ และผู้แทนจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้บรรลุนิตาภาวะแล้ว
(2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไรความสามารถ
(3) ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ของศาลมาก่อน เว้นแต่ ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่กระทำโดยประมาท
(4) ไม่เป็นโรคอันพึงรังเกียจแก่สังคม
(5) เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
บุคคลเดียวกันจะเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนสมาชิกเกินกว่าห นึ่งรายมิได้ ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญของสมาคม ความจำนงต่อเลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการตามแ บบพิมพ์ที่ สมาคมได้กำหนดไว้ โดยมี สมาชิกสามัญอย่างน้อยหนึ่งรายเป็นผู้รับรอง ข้อ 7 การสมัครเข้าเป็นสมาชิก จะต้องยื่น
ข้อ 8 การพิจารณาคำขอเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครเข้าเป็น สมาชิกไว้ ณ. สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิกอื่นของสมาคมฯ จะได้คัดค้านการสมัครนั้นได้ เมื่อครบกำหนดการประกาศแล้ว ให้เลขาธิการนำใบสมัครและ หนังสือคัดค้าน (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวต่อไป ครั้งแรกจากการครบ กำหนดเวลา เช่นว่านั้น เมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการ มีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันลงมติ
ข้อ 9 วันเริ่มสมาชิกภาพ สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็น สมาชิก และค่าบำรุงประจำปีของสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงินค่าลงทะเลียนและค่าบำรุงภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ การเข้าเป็นสมาชิก นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
ข้อ 10 การขาดจากสมาชิกภาพ
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 5
(2) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมเห็นชอบและต้องชำระ หนี้สิน ที่ค้างชำระแก่สมาคมเรียบร้อยแล้ว
(3) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) คณะกรรมการลงมติให้ลบชื่ออกจากทะเบียนสมาชิกด้วยคะแนนเ สียงไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ด้วยเหตุผลใดดังต่อไปนี้
1. กระทำการใดๆ ที่ทำให้สมาคมเสื่อมเสียโดยเจตนา
2. กระทำการละเมิดข้อบังคับโดยเจตนา
3. ไม่ชำระค่าบำรุงประจำปี และได้รับใบเตือนจากเจ้าหน้าที่ครบ 30 วันแล้ว
4. เมื่อเลิกกิจการจากประเทศไทยไปแล้ว
ข้อ 11 ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยอย่างน้อย ต้องให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและสัญชาติของสมาชิก
(2) ชื่อที่ใช้ในการประกอบวิสาหกิจและประเภทของวิสาหกิจ
(3) ที่ตั้งสำนักงานของสมาชิก
(4) วันที่เข้าเป็นสมาชิก
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 12 สิทธิของสมาชิก
(1) ได้รับความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์จากสมาคมเท่าที่จะอำนวยได้
(2) เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อสมาคม หรือคณะกรรมการในเรื่องใดๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมเพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของสมาคม
(3) ขอตรวจสอบกิจการหรือทรัพย์สินของสมาคมได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการ หรือกรรมการผู้ที่ทำหน้าที่แทนเลขานุการ
(4) เข้าร่วมประชุมอภิปรายแสดงความคิดเห็นซักถามกรรมการ เสนอญัตติในการประชุมใหญ่สมาชิก
(5) สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่และมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
ข้อ 13 หน้าที่ของสมาชิก
(1) ต้องปฏิบัติตามขอบังคับของสมาคม มติของที่ประชุมใหญ่ มติของคณะกรรมการและหน้าที่ซึ่งตนได้รับมอบหมายจากสมาคมด้วยความซื่อสัตย์โดยเคร่งครัด
(2) ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของสมาคม ตลอดจนต้องรักษาความลับในข้อประชุมหรือวิธีการของสมาคม ไม่เปิดเผยข้อความซึ่งอาจจะนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมโดยเด็ดขาด
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสมาคมให้เจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
(4) ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิกและปฏิบัติกิจการค้าในทำนองช่วยเหลือกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
(5) ชำระค่าบำรุงให้แก่สมาคมตามกำหนด ค่าบำรุงประจำปีสิ้นเดือนสุดเดือนธันวาคมของทุกปี ค่าบำรุงต้องชำระอย่างช้าไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
(6) สมาชิกผู้ใดที่ย้ายที่ตั้งสำนักงาน หรือเปลี่ยนผู้แทนนิติบุคคล จะต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่เปลี่ยนแปลง
ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาคม
ข้อ 14 ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม
(1) สมาชิกสามัญจะต้องชำระค่าลงทะเบียน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปีๆละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
(2) สมาชิกวิสามัญจะต้องชำระค่าลงทะเบียน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปีๆละ 7,500 บาท (เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงอย่างใดทังสิ้น
ข้อ 15 ค่าบำรุงพิเศษ สมาคมอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษจำนวนเท่าใดจากสมาชิกได้เป็นครั้ง คราว โดยที่ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิก สามัญที่มาประชุมทั้งหมด
คณะกรรมการของสมาคม
ข้อ 16 ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม และเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ประกอบด้วยสมาชิกสามัญซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน และไม่เกินสิบห้าคนเว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้นๆจะมีมติเป็นอย่างอื่น การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้สมาชิกเสนอชื่อสมาชิกซึ่งตนประสงค์จะให้เข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหญ่ โดยมีสมาชิกอื่นรับรองไม่น้อยกว่าสองราย แล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในวรรคแรก และตามมติที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้นๆ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้น ให้ที่ประชุมลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับสลาก ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนึ่งค น อุปนายกหนึ่งคน สำหรับกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำ รงตำแหน่งต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ นายกสมาคมอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี แต่มิให้ดำรงตำแหน่งเกิน 2 คราว คณะกรรมการของสมาคม อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี การนับวาระกรรมการให้นับแต่วันที่ประชุมใหญ่มีมติเลือกตั้ง ภายใต้บังคับมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 กรรมการที่พ้นตำแหน่งกรรมการไปแล้ว อาจได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้
ข้อ 17 การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ
(1) ครบกำหนดออกตามวาระ
(2) ลาออก โดยคณะกรรมการได้ลงมติอนุมัติแล้ว เว้นแต่การลาออกเฉพาะตำแหน่งตามข้อ 16 วรรคสาม
(3) ขาดจากสมาชิกภาพ
(4) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการ
(5) เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้ออกตามมาต รา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ.2509
(6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติส มาคมการค้า พ.ศ. 2509 ในกรณีที่ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อ 6 ที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งตาย หรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสมาชิกนั้นๆ ผู้แทนคนใหม่ของสมาชิกรายนั้นๆ จะเข้าเป็นกรรมการแทนก็ได้
ข้อ 18 กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกต ามวาระ
คณะกรรมการอาจตั้งสมาชิกสามัญผู้ใดผู้หนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับตำแหน่งแทนนี้ ให้เป็นกรรมการอยู่ได้ตามวาระของผู้ที่ตนแทน กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนครบกำหนดออกตามว าระ ให้คณะกรรมการ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นดำเนินการจัดประชุมใหญ่สมาชิกเพื่อเลือกตั้งค ณะกรรมการชุดใหม่ ในกรณีนี้ให้นำความใน
ข้อ 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไป
ข้อ 19 องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการ การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อ ยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่มีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง กรรมการที่เหลืออยู่ย่อมทำกิจการได้ เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญผู้ใดผู้หนึ่งหรือหลายคนเป็นกรร มการเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกประชุมใหญ่ หรือกระทำกิจการอันสมควรทุกอย่างเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ขอ งสมาคมเท่านั้น
ข้อ 20 มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้ประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกหนึ่งเสียงเป็ นเสียงชี้ขาด คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งตามวรรคก่อน ในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือ ข้อบังคับนี้ ให้ถือว่ามตินั้นใช้บังคับไม่ได้
ข้อ 21 ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการผู้ใดผู้หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะใ นการประชุมคราวนั้น
ข้อ 22 การประชุมคณะกรรมการ ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยสองเดือนต่อครั้ง
ข้อ 23 การรับหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งหรือคณะกรรมการชุดใหม่ และหรือที่ประชุมใหญ่มีมติแต่งตั้งสมาชิกสมาคม ผู้ใดผู้หนึ่งยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ต่อนายทะเบียนสมาคม การค้าประจำกรุงเทพมหานครภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลือกตั้ง และส่งมอบหน้าที่ให้คณะกรรมการชุดใหม่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้า รับจดทะเบียน ในกรณีที่นายทะเบียนสมาคมการค้า ยังมิได้รับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่และคณะกรรมการที่ พ้นจากตำแหน่งยังมิได้ส่งมอบหน้าที่ตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่บริการกิจการขอ งสมาคมต่อไปจนกว่านายทะเบียนสมาคมการค้า จะรับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการชุดใหม่นั้นเข้ารับหน้าที่แล้ว การรับมอบหน้าที่ให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 24 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ มีดังนี้
(1) จัดดำเนินกิจการและทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตาม ข้อบังคับและมติของที่ประชุม
(2) เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม และอุปนายก
(3) (4) ว่าจ้าง แต่งตั้ง ถอดถอน ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ วางระเบียบในการปฏิบัติงานของสมาคมให้เป็นไปตามวั ตถุที่ประสงค์ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งปวง ในการทำกิจการเฉพาะอย่างหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตหน้าที่ของสมาคมเพื่อให้การดำเนินงา นของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย ที่ปรึกษาของคณะกรรมการและอนุกรรมการดังกล่าว จะแต่งตั้งจากกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมหรือบุคค ลภายนอกก็ได้
ข้อ 25 อำนาจหน้าที่กรรมการตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้
(1) นายกสมาคมมีหน้าที่อำนวยการเพื่อให้การดำเนินการข องสมาคมการค้าเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบการใน การปฏิบัติงานของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายน อกและเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ตลอดจนในที่ประชุมใหญ่
(2) อุปนายกมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายกสมาคมในกิจการ ทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสมาคม และเป็นผู้ทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไ ม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
(3) เลขาธิการ มีหน้าที่ทำการโต้ตอบหนังสือ เก็บรักษาเอกสารต่างๆของสมาคม
(4) เหรัญญิก มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของสมาคม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาและจ่ายพัสดุของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้รับมอบหมาย
(5) (6) ปฏิคม นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนต่างๆ อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของสมาคมตลอดจนปฏิ บัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้มอบหมาย มีหน้าที่รักษาสำนักงานของสมาคม รักษาความเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยม จัดสถานที่ประชุม ดูแลต้อนรับ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้มอบหมาย
(7) ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆ ของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้มอบหมาย
ข้อ 26 ภายใต้ข้อบังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที 7 การประชุมใหญ่มาใช้โดยอนุโลม
การประชุมใหญ่
ข้อ27 การประชุมใหญ่
ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า การประชุมใหญ่สามัญประจำปี การประชุมใหญ่คราวอื่น นอกจากการประชุมใหญ่ตามวรรคก่อนเรียกว่า การประชุมใหญ่ วิสามัญ
ข้อ 28 กำหนดการประชุมใหญ่
(1) ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีให้มีขึ้นภายใน 120 วัน นับจากสิ้นปีการบัญชี (2) ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งซึ่งคณะกรรมการมีมติเห็นสมควร หรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสม าชิกสามัญทั้งหมดแสดงความจำนง โดยทำการร้องขอเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการหรือกรรม การผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการ ให้คณะกรรมการนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนด สิบห้าวัน นับแต่วันที่ลงมติหรือวันที่ได้รับหนังสือ
ข้อ 29 การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม
คณะกรรมการจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงวัน เวลา สถานที่และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดย ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ การจัดส่งหนังสือบอกกล่าวตามวรรคแรก ให้ส่งสำเนาบันทึกรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว (ถ้ามี) ไปด้วย ในกรณีที่เป็นการประชุมใหญ่สามัญจะต้องแนบสำเนารายงานประจำปี และสำเนางบดุลรวมทั้งสำเนาบัญชีรายรับ รายจ่าย ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเพิ่มเติมไปด้วย
ข้อ 30 องค์ประชุมในการประชุมใหญ่
ในการประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 31
กรณีที่การประชุมใหญ่ครั้งแรกสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม หากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมง ยังมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลิกการประชุมใหญ่นั้น ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลื่อนการประชุม และให้ทำการบอกกล่าว นัดประชุม วันเวลา และสถานที่ประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน นับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่ าครบเป็นองค์ประชุม
ข้อ 32 ประธานที่ประชุม
ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้านายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการผู้ใดผู้หนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ประ ชุมถ้าไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิ กคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น
ข้อ 33 วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่
สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและสมาชิกสามัญรายห นึ่งๆมีคะแนนเสียงหนึ่งเสียง ในการประชุมใหญ่ใดๆ ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ให้ตัดสินด้วยวิธีการชูมือ หรือวิธีการอื่นใดเป็นการเปิดเผยว่าสมาชิกใดลงคะแนนเช่นไร เว้นแต่เมื่อก่อนหรือในเวลาที่แสดงผลแห่งการชูมือนั้น คณะกรรมการเห็นสมควรหรือได้มีสมาชิกสามัญสองรายเป็นอย่างน้อย ติดใจร้องขอให้ลงคะแนนลับ
ข้อ 34 มติของที่ประชุมใหญ่
นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันจะเป็นการชูมือก็ดี การลงคะแนนลับก็ดี หรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 35 กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญ
(1) รับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญคราวก่อน (2) แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบ 12 เดือน (3) แถลงบัญชีรายรับ –รายจ่าย และบัญชีงบดุลของรอบ 12 เดือน ซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้วต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาอนุมัติ (4) เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดตามวาระ (5) เลือกตั้งผู้สอบบัญชี (ถ้ามี) (6) เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ 36
กิจการอันพึงกระทำในการประชุมสมาชิกประจำเดือน ได้แก่กิจการอันเกี่ยวกับการปฏิบัติธุรกิจทั่วไปของสมาคม นอกจากกิจการที่จำเป็นจะต้องกระทำโดยการประชุมใหญ่สามัญประ จำปี หรือการประชุมใหญ่ วิสามัญ
ข้อ 37 การจัดทำรายงาน บันทึกการประชุม
รายงานการประชุมคณะกรรมการ การประชุมใหญ่ และการประชุมอนุกรรมการ ให้จดบันทึกไว้ทุกครั้ง และต้องเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับรองในคราวที่มีการประชุมครั้งต่อไป รายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วสมาชิกจะขอดูได้ในวันและเวลา
การเงิน เงินทุนพิเศษ และการบัญชีของสมาคม
ข้อ 38 วันสิ้นปีทางบัญชี
ให้ถือเอาวันที 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมการค้า
ข้อ 39 การจัดทำงบดุล
ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลที่เป็นอยู่ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีนั้นแล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของทุ และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่ประ จำปีไม่น้อยกว่าสามสิบวัน คณะกรรมการต้องดำเนินการเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญเพื่อพิจารณ าอนุมัติภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ให้คณะกรรมการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสม าคมต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย งบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้ว เมื่อเสนองบดุล ให้สมาคมส่งสำเนารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสมาค มกับงบดุลไปยังนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่สามัญ ให้เก็บรักษารายงานแสดงผลการดำเนินงานของสมาคมกับงบดุลไว้ที่ สำนักงานของสมาคม เพื่อให้สมาชิกขอตรวจได้
ข้อ 40 อำนาจของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจเข้าตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่ วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้ กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประกา รเพื่อการตรวจสอบเช่นว่านั้น อนึ่ง
ข้อ 41 การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน
จะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคมและให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก
ข้อ 42 การเงินของสมาคม
เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในนามของสมาคมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสมาคม 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันที่ที่โอกาส อำนวย ในการนี้ เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน หรือเช็คของสมาคมให้อยู่ในอำนาจของนายกสมาคม หรืออุปนายกลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการ พร้อมทั้งประทับตราสมาคมด้วย
ข้อ 43 การจ่ายเงินของสมาคม
ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเกี่ยวกับกิจการของสมาคมได้ครั้งล ะไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) (หนึ่งแสนบาทถ้วน) แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ให้กระทำโดยมติจากที่ประชุมกรรมการทุกครั้ง (ห้าแสนบาทถ้วน) ให้กระทำโดยมติจากที่ประชุมใหญ่ทุกครั้ง
ข้อ 44 เงินทุนพิเศษ
สมาคมอาจหาเงินทุนพิเศษเพื่อดำเนินกิจการและส่งเสริมความก้าวหน้ าของสมาคมได้ โดยการเชื้อเชิญบุคคลภายนอกและสมาชิกร่วมกันบริจาค หรือกระทำการอื่นใดที่คณะกรรมการเห็นสมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย ให้มีเงินทดรองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไม่เกินวงเงิน การฝากและถอนเงินจากธนาคาร การลงนามในตั๋วเงิน ในการจ่ายเงินครั้งละเกินกว่า 100,000 บาท ถ้าจำเป็นต้องจ่ายเงินเกินกว่า 500,000 บาท
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี
ข้อ 45 การแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตัดหรือเพิ่มข้อบังคับ
จะกระทำได้ก็แต่มติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้นและองค์ประชุมจะต้องมีส มาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ จะต้องมี่คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ 46 การเลิกสมาคม
สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ (1) เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยก ว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดของสมา คม โดยนายกสมาคมจะรับรองมติดังกล่าวเป็นหนังสือลงนา มโดยนายกสมาคม อุปนายก เลขาธิการและเหรัญญิก (2) เมื่อล้มละลาย (3) เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้เลิกตามมาตา รา 36 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
ข้อ 47 การชำระบัญชี
เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวใน
ข้อ 46 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสมาคม การค้า
พ.ศ. 2509 มาใช้บังคับ ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนดตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 46 (3) ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกร รมการต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานครเป็นผู้ชำร ะบัญชี หากมีทรัพย์สินของสมาคมเหลือจากการชำระบัญชีให้ยกแก่ “มูลนิธิคุ้มเกล้า” ในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 46 (1)
บทเฉพาะกาล
เมื่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดเป็นสมาคมการค้าแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทุกคนทำหน้าที่คณะกรรมการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว กรณีที่การประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกในช่วงเวลา น้อยกว่าสามเดือนนับถึงวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคม ให้ถือเอาวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมเป็นวันตั้งต้นคำนวณวาระกรรม ภายใต้บังคับแห่งความในวรรคแรก fsdfsdfsdfsdfsdfsdfsdfs